วันอังคาร, 30 เมษายน 2567

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ และ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ลงนามความร่วมมือ ในการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนา

06 มิ.ย. 2022
191

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ และ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ลงนาม MOU ส่งเสริม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาเพชรบูรณ์ มุ่งเน้นการพัฒนาตามนโยบายเศรษฐกิจ BCG  ได้แก่  เศรษฐกิจชีวภาพ  เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ Bio-Circular-Green Economy

วันที่ 6 มิถุนายน  2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศ.(วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และ ผศ.ดร.ปรีชา  ศรีเรืองฤทธิ์ รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ลงนามบันทึกความร่วมมือ ว่าด้วย “การส่งเสริมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ในจังหวัดเพชรบูรณ์” เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ชุมชน และสังคมสู่ความยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และ ทรัพยากรธรรมชาติของจังหวัดเพชรบูรณ์   นับเป็นการบูรณาการความร่วมมือเพื่อสนองตอบการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายของกระทรวง  อว. ที่ต้องการส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม    ไปช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะในด้านเกษตร  จุลินทรีย์  อาหาร  และเวชสำอาง  รวมทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ  โอกาสนี้  มี นายสายันต์  ตันพานิช  รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์และจัดการนวัตกรรม วว.  ผศ.ดร.กาญจน์  คุ้มทรัพย์  คณบดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์  พร้อมด้วยผู้บริหาร บุคลากร ทั้งสองหน่วยงานร่วมเป็นเกียรติในพิธี

 ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า วว. และมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์  ดำเนินงานร่วมกันมาตั้งแต่ปี 2564   มุ่งเน้นการพัฒนาตามนโยบายเศรษฐกิจ BCG  ได้แก่  เศรษฐกิจชีวภาพ  เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ Bio-Circular-Green Economy  เพื่อนำนโยบายของรัฐบาลมาปฏิบัติให้เห็นผลเป็นรูปธรรม ดำเนินการให้มีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรของจังหวัดเพชรบูรณ์ อย่างคุ้มค่า  การลดของเสีย การนำมาหมุนเวียนใช้ใหม่ เพื่อสร้างและรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ตามธรรมชาติ ร่วมมือพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  พัฒนามาตรฐานห้องปฏิบัติด้านการวิเคราะห์ทดสอบและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาผู้ประกอบการในพื้นที่  กระตุ้นให้เกิดการนำรายได้คืนสู่การพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งชุมชน ท้องถิ่น ที่เป็นฐานรากของทรัพยากร อันจะทำให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืนและทั่วถึง (Inclusive growth)

 ผศ.ดร.ปรีชา  ศรีเรืองฤทธิ์ รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์    กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์  ยึดปรัชญาการเป็น “มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น”   ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ได้ลงพื้นที่ในจังหวัดเพชรบูรณ์  จังหวัดพิจิตร เพื่อนำองค์ความรู้ต่าง ๆที่มีอยู่   ไปขับเคลื่อนให้ชุมชนท้องถิ่น

สำหรับความร่วมมือที่ได้รับการอนุเคราะห์จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย วว. ในครั้งนี้  นับจากนี้ไปมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์  จะนำองค์ความรู้ต่าง ๆของทั้ง วว.หรือ มหาวิทยาลัยฯ   ร่วมกันลงไปขับเลื่อนในกับเศรษฐกิจของชุมชนฐานราก รวมทั้งการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่  ซึ่งทางมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้ในเรื่องของการแปลงรูปสินค้าทางการเกษตร  พืช ผัก ผลไม้ และสมุนไพร ต่าง ๆ  ในจังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดพิจิตร หวังเป็นอย่างยิ่งว่า  ความร่วมมือในครั้งนี้ จะก่อให้เกิดองค์ความรู้ และงานวิจัยต่าง ๆ ร่วมกันต่อไปในอนาคต

ขอบคุณภาพ : งานประชาสัมพันธ์ สำนักงานอธิการบดี

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
เพชรบูรณ์ – พายุฤดูร้อน ถล่ม ตำบลลาดแค ได้รับความเสียหาย12 หมู่บ้าน 90 หลังคาเรือน
เตรียมความพร้อมป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2566
เพชรบูรณ์  สมศักดิ์ นำทีมเพื่อไทย ปราศรัยหาเสียง ย้ำ “คิดใหญ่ ทำเป็น” เน้นแก้ปัญหายาเสพติด
เพชรบูรณ์ – อำเภอหนองไผ่ จัดงาน “วันมะม่วงและของดีอำเภอหนองไผ่ ประจำปี 2566”
เพชรบูรณ์ – พิธีเซ่นไหว้บรรพชน เทศกาลเช็งเม้งรวม ของสุสาน พฤกษาราชคีรี อำเภอหนองไผ่   
เพชรบูรณ์ – เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.หล่มสัก สาธิตการใช้เหล็กไม้ง่ามเพื่อควบคุมบุคคลจิตเวช ให้กับผู้นำชุมชน