วันอังคาร, 19 มีนาคม 2567

มหกรรม “วิถีวัฒนธรรมชาวมอญ” เพื่อสืบทอด ภาษาและอักษรมอญ อาหาร วัฒนธรรมประเพณี ตลอดจนการแต่งกาย ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของชาวมอญ

22 พ.ย. 2022
174

​​นครปฐม – จัดงานมหกรรม “วิถีวัฒนธรรมชาวมอญ” ที่บริเวณลานวัฒนธรรม วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี วัดไร่ขิง เพื่อสืบทอด ภาษาและอักษรมอญ อาหาร วัฒนธรรมประเพณี ตลอดจนการแต่งกาย ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของชาวมอญ

เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2565   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คณะกรรมการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม จัดงานมหกรรม “วิถีวัฒนธรรมชาวมอญ”ณ บริเวณลานวัฒนธรรม วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยมี พระธรรมวชิรานุวัตร,ดร. เจ้าคณะภาค 14 ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี เป็นประธานฝ่ายสงฆ์  นางศศิฑอณร์ สุวรรณมณี หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม  เป็นประธานฝ่ายฆราวาส  นางฐิติรัตน์ เรืองสังข์ วัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม เป็นผู้กล่าวถวายรายงาน  พร้อมด้วยพระอาจารย์ญานะ พระธรรมทูตมอญ  พระครูสมุห์อานนท์ อานนฺโท วัดบึงลาดสวาย  อาจารย์สอางค์ พรหมอินทร์ ชาวมอญบ้านม่วง จ.ราชบุรี  อาจารย์พิศาล บุญผูก  พระมหาบุญเลิศ  อินทปญฺโญ , ศ.ดร. รองผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล มหาวิทยาลัยมหิดล  ดร.ธนกร ศรีสุกใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ นางสาวอรพร คัมภีรศาสตร์ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม  ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ชาวมอญเกาะเกร็ด จ.นนทบุรี ชาวมอญจากจังหวัดนครปฐม ชาวมอญจากจังหวัดปทุมธานี  ชาวมอญจากจังหวัดกาญจนบุรี ชาวมอญจากจังหวัดราชบุรี ชาวมอญจากจังหวัดสมุทรสาคร หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน เข้าร่วมกิจกรรมและขับเคลื่อนงานโครงการฯ ดังกล่าว

​​การจัดงานมหกรรม “วิถีวัฒนธรรมชาวมอญ” เกิดขึ้นจากดำริของพระธรรมวชิรานุวัตร, ดร. เจ้าคณะภาค 14 ในฐานะผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี ได้มีความตั้งใจในการสืบสานวิถีวัฒนธรรมชาวมอญ เนื่องด้วยจังหวัดนครปฐมมีชาวไทยรามัญ ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำนครชัยศรีมาก่อน  รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ในบริเวณเขตอำเภอนครชัยศรี ได้แก่ วัดกกตาล วัดกลางบางแก้ว และวัดเกษตราราม  อำเภอสามพราน ได้แก่ วัดหอมเกร็ด วัดทรงคนอง และวัดไร่ขิง  ในหลายวัดจึงมีเสาหงส์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของชาวมอญตั้งอยู่ โดยเป็นเสาไม้กลมสูงประมาณ 10 เมตร ที่ปลายเสาจะมีตัวหงส์กางปีกหล่อด้วยทองเหลือง ชาวมอญมีวัฒนธรรมที่ยังคงสืบทอดกัน ได้แก่ ภาษาและอักษรมอญ อาหาร วัฒนธรรมประเพณี ตลอดจนการแต่งกายที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของชาวมอญ

​​สำหรับกิจกรรมภายในงานประกอบด้วยการสาธิตเขียนอักษรมอญ การปักสไบมอญ การประกอบอาหารหวานคาวมอญ การประกอบพิธีกรรมของชาวมอญ พิธีทำบุญเลี้ยงพระตามวิถีวัฒนธรรมชาวมอญ ประกอบด้วย การไหว้พระรับศีล ฟังสวดมนต์มอญ โดยพระมหานันทชัย นฺนทชโย (พระมหาโท วัดวังก์) เจ้าอาวาส        วัดสุธรรมวดี ,  ถวายภัตตาหารมอญ/รับประทานอาหารมอญ , การแสดง “รำมอญ” มรดกภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี การแสดงทางวัฒนธรรมของเยาวชนมอญ โดยนักเรียนโรงเรียนราชินีบูรณะจังหวัดนครปฐม  ควบคุมการแสดงโดย        อาจารย์สุเนตรา เทศทอง อาจารย์โรงเรียนราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม  , เวทีพูดคุย “การพลิกโฉมวิถีวัฒนธรรมมอญสู่การสร้างเศรษฐกิจฐานราก”  , นิทรรศการปริวรรตคัมภีร์มอญ (หลักธรรมในคัมภีร์ใบลานวัดคงคาราม), การแต่งกายมอญ การแสดงพระธรรมเทศนาภาษามอญ, การแสดงมอญ ,การผูกดวงตำรับมอญ, การเสวนาและเล่าเรื่องวิถีชีวิต วัฒนธรรม และภูมิปัญญาของชาวมอญ อาทิ การปั้นดินเป็นชุดของใช้ต่าง ๆ   ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีกิจกรรมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสืบสานวัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดนครปฐมและจังหวัดใกล้เคียง ให้เด็ก เยาวชน และประชาชนได้เรียนรู้และสืบทอด สืบสาน เกิดความภาคภูมิใจ ตลอดจนสร้างเครือข่ายวัฒนธรรมไทยรามัญให้กว้างขวางยิ่งขึ้นต่อไป

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ปฎิบัติการไล่ล่า ด.ต.อรรถพร ในพื้นที่สามจุด พบเบาะแสการหลบหนี ประกาศเพิ่มเงินรางวัลเป็น 1 แสนบาท
สุโขทัย – ตร.เจ๋ง ฝากบ้านยุค IT 4.0 plus Smart Safety Zone Sukhothai
เตรียมความพร้อมป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2566
“CEO วี หงส์ทอง” ร่วมรณรงค์ “7วันอันตราย” ขับขี่ปลอดภัยเมาไม่ขับ
มหาสารคาม – ตำรวจ เข้ม!  ปล่อยแถวกวาดล้างอาชญากรรม ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2566
สุโขทัย – รณรงค์ชาวไร่อ้อย ร่วมใจหยุดเผา เพื่อเรา เพื่อโลก Net Zero Emission